บทวิเคราะห์

     1) คุณค่าด้านภาษา  กลวิธีการแต่ง ทุกข์ของชาวนาในบทกวี นับเป็นตัวอย่างอันดีของบทความทีสามารถยึดถือเป็นแบบอย่างได้ ด้วยแสดงให้เห็นแนววความคิดชัดเจน ลำดับเรื่องราวเข้าใจง่ายและมีส่วนประกอบของงานเขียนประเภทบทความอย่างครบถ้วน คือ                                                                                                      
- ส่วนนำ กล่าวถึงบทกวีของจิตร ภูมิศักดิ์ที่ทรงได้ยินได้ฟังมาในอดีตมาประกอบในการเขียนบทความ        
 - เนื้อเรื่อง วิจารณ์เกี่ยวกับกลวิธีการนำเสนอบทกวีของจิตร  ภูมิศักดิ์ และของหลี่เชินโดยทรงยกเหตุผลต่างๆและทรงแสดงทัศนะประกอบ  เช่น 

     “…ชวนให้คิดว่าเรื่องจริงๆนั้น ชาวนาจะมีโอกาสไหมที่จะ ลำเลิก กับใครๆ ว่าถ้าไม่มีคนที่คอยเหนื่อยยากตรากตรำอย่างพวกเขา คนอื่นๆ จะเอาอะไรกิน...


                                                                                                                                                                           
- ส่วนสรุป สรุปความเพียงสั้นๆแต่ลึกซึ้ง  ด้วยการตอกย้ำเรื่องความทุกข์ยากของชาวนา ไม่ว่ายุคสมัยใดก็เกิดปัญหหาเช่นนี้ ดังความที่ว่า

     “…ฉะนั้นก่อนที่ทุกคนจะหันไปกินอาหารเม็ดเหมือนนักบินอวกาศ เรื่องความทุกข์ของชาวนาก็คงเป็นแรงสร้างความสะเทือนใจให้แก่กวียุคคอมพิวเตอร์สืบต่อไป…”



สำหรับกลวิธีการอธิบายนั้นให้ความรู้เชิงวรรณคดีเปรยบเทียบแก่ผู้อ่าน โดยทรงใช้การเปรียบเทียบวิธีการนำเสนอของบทกวีไทยและบทกวีจีน ว่า

     เทคนิคในการเขียนของหลี่เชินกับของจิตรต่างกัน คือ หลี่เชินบรรยายภาพที่เห็นเหมือนจิตรกรวาดภพให้คนชม ส่วนจิตรใช้วิธีเสมือนกับนำชาวนามาบรรยายเรื่องของตนให้ผู้อ่านฟังได้ด้วยตนเอง

        บททวีของหลี่เชินเป็นบทกวีที่เรียบง่าย แต่แสดงความขัดแย้งอย่างชัดเจน คือ แม้ว่าในฤดูกาลเพาะปลูก ภูมิอากาศจะเอื้ออำนวยให้พืชพันธุ์ธัญญาหารบริบูรณ์ดี แต่ผลผลิตไม่ได้ตกเป็นของผู้ผลิต คือชาวนาหรือเกษตรกรเท่าที่ควร ซี่งหลี่เชินได้บรรยายภาพทั่เห็นเหมือน จิตรกรวาดภาพให้คนชม ส่วนจิตร ภูมิศักดิ์ ใช้กลวิธีการบรรยายเสมือนว่าชาวนาเป็นผู้บรรยาย เรื่องราวให้ผู้อ่านฟังด้วยตนเอง  อย่างไรก็ตาม แนวคิดของกวีทั้งสองคนก็คล้ายคลึงกัน คือต้องการสื่อให้ผู้อ่านได้เห็นว่าสภาพชีวิตชาวนาในทุกแงและทุกสมัย ประสบความทุกข์ยากไม่แตกต่างกัน

คุณค่าด้านสังคม

     สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ  สยามบรมราชกุมารี  ได้ทรงเริ่มต้นด้วยการยกบกกวีของจิตร  ภูมิศักดิ์  ซึ่งแต่งด้วยกาพย์ยานี ๑๑ จำนวน ๕ บทมีเนื้อหาเกี่ยวกับความยากลำบากของชาวนาที่ปลูกข้าวซึ่งเป็นอาหารสำคัญของคนทุกชนชั้น  พระองค์ทรงเห็นด้วยกับบทกวีนี้และยังทรงกล่าวอีกว่าเนื้อหาบทกวีของจิตร  ภูมิศักดิ์  สอดคล้องกับบทกวีของหลี่เชิน  กวีชาวจีนที่แต่งไว้ตั้งแต่สมัยราชวงศ์ถัง  แสดงไห้เห็นว่าชีวิตของชาวนาไม่ว่าที่แห่งใดในโลก  จะเป็นไทยหรือจีนจะเป็นสมัยใดก็ตาม  ล้วนแล้วแต่มีความยากแค้นลำเค็ญเช่นเดียวกัน

     ดังนั้นแนวคิดสำคัญของบทความพระราชนิพนธ์เรื่อง ทุกของชาวนาในบทกวี  จึงอยู่ที่ความทุกข์ของชาวนาและสภาพชีวิตของชาวนาที่ถูกเอารัดเอาเปรียบอยู่เสมอ ดังความที่ว่า

“...แม้ว่าในฤดูกาลนั้นภูมิอากาศจะอำนวยให้พืชพันธุ์ธัญญาหารสมบูรณ์ดี แต่ผลผลิตไม่ได้ตกเป็นประโยชน์ผู้ผลิตเท่าที่ควร